ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
 ไม่คิดเลย (2470)
ไม่คิดเลย
 ประเภท :  Drama / Romance / ขาว-ดำ
 ผู้กำกับ :  ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)
 บทประพันธ์ :  หลวงสุนทรอัศวราช (จำรัส สรวิสูตร)
 บทภาพยนตร์ :  หลวงสุนทรอัศวราช (จำรัส สรวิสูตร)
 บริษัทผู้สร้าง :  บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย (A Siamese Film Co.)
 วันที่เข้าฉาย :  17 กันยายน 2470 ฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร
 ในปี พ.ศ. 2470 หลังจากบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น และออกฉายในเดือนกรกฎาคมของปีนั้นแล้ว บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาแข่งบ้าง ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อๆมา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

เรื่องย่อ

พระเศรษฐกิจวิบูลย์ เศรษฐีม่าย มี ลูกสาวแสนสวยชื่อ นางสาวประภา หมั้นหมายอยู่กับ นายกาหลง บุญชุบ เศรษฐีเหมืองแร่จอมเปิ่น และก็ เพราะความเปิ่นนี้เองที่ทำให้นางสาวประภาไม่ผูกสมัครรักใคร่นายกาหลงและพยายามบ่ายเบี่ยงเรื่องการ แต่งงาน หารู้ไม่ว่า นายประเสริฐ หลานชายคุณพระหมาย จะครอบครองเธออยู่

วันหนึ่งขณะที่นางสาวประภาออกไปขี่ม้าเผอิญ เจออุบัติเหตุตกจากหลังม้า ดีที่ได้ นายอำนวย ชายพเนจร ช่วยไว้ ครั้นถามไถ่จึงรู้ว่านายอำนวยกำลังตกงาน นางสาว ประภาจึงรับนายอำนวยไว้เป็นคนเลี้ยงม้า กระทั่งความ ใกล้ชิดทำให้ทั้งสองชอบพอกัน นายประเสริฐที่เห็น เหตุการณ์มาโดยตลอดจึงพยายามขัดขวางความรักของ ทั้งสอง โดยกุแผนขึ้นมาใส่ร้ายให้นายอำนวยกลายเป็น ขโมย พร้อมทั้งฉุดตัวนางสาวประภา เมื่อนายอำนวย ทราบเรื่องจึงรีบนำความไปบอกนายกาหลง นายกาหลง จึงรีบมาช่วยนางสาวประภาด้วยการตะบันหน้านาย ประเสริฐลงไปกองกับพื้น ตำรวจจึงสามารถจับผู้ร้ายไว้ได้ นายอำนวยจึงเปิดเผยว่าแท้ที่จริงเขาคือ นายร้อย ตำรวจแห่งกองพิเศษปลอมตัวมาจับนายประเสริฐ เพราะ นายประเสริฐนั้นสร้างคดีไว้ที่ต่างจังหวัด ทั้งบอกว่าความ สัมพันธ์ระหว่างตนกับประภามิได้มีอะไรจริงจัง นางสาว ประภาจึงกลับมามองเห็นความดีของนายกาหลงและ ยินดีที่จะแต่งงานกับเขา

นักแสดง

  • ลัดดา โรหิตเสถียร – นางสาวประภา เศรษฐกิจ
  • ไกวัลย์ จันทนบุบผา – นายกาหลง บุญชุบ
  • รักษ์ รจนานนท์ – นายอำนวย มุ่งดี
  • เติม เมษประสาท – นายประเสริฐ ศักดิ์เลิศ
  • ช่าง รอบรู้ – พระเศรษฐกิจวิบูลย์
  • ขาว ปาจิณพยัคฆ์ – ลออ ขจรนาม
  • ชุมพร เมษประสาท – สอาด ขจรนาม
  • อินสม สุริโยดร – เจ้าปุ่น

Image Gallery

เกร็ด

  • ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายสู่สาธารณชนในฐานะภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก นับจากนั้นมาได้มีเสียงเรียกร้องต้องการจากผู้ชมภาพยนตร์ ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆว่า อยากให้มีผู้คิดสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นอีก ล่วงมาจนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2469 จึงมีคนไทยประกาศจัดสร้างภาพยนตร์ขึ้นเป็นรายแรกคือ บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย
  • บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยซึ่งมีหลวงสุนทรอัศวราช (จำรัส สรวิสูตร) และ หลวงสารานุประพันธ์ (ขาว ปาจิณพยัคฆ์) เป็นหัวเรือใหญ่ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในยุคนั้น ประกาศจะสร้างภาพยนตร์เรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทยในปี พ.ศ. 2469
  • บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยได้ประกาศแจ้งในหนังสือพิมพ์รายวัน รับสมัครผู้แสดงภาพยนตร์ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สนใจส่งจดหมายสมัครกันเป็นจำนวนมาก แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีทีท่าว่าบริษัทนี้จะเริ่มลงมือถ่ายทำภาพยนตร์สักที ทั้งนี้เพราะยังไม่สามารถตกลงใจได้ว่าจะสร้างเรื่องอะไรดี เวลาผ่านไปสองสามเดือนจนล่วงขึ้นปี พ.ศ. 2470 ปรากฏว่าภาพยนตร์ไทยเรื่อง โชคสองชั้น ซึ่งสร้างแซงหน้าเสร็จและออกฉายได้ก่อน
  • จัดฉากกำกับศิลป์โดยพระยานเรนทร์ราชา และผู้ให้อักษรประกอบภาพในภาพยนตร์โดยพันโทหลวงสารานุประพันธุ์ (ขาว ปาจิณพยัคฆ์) ส่วนผู้ให้อักษรจีนประกอบภาพโดย บุญทอง เตชะวณิช
  • ไกวัลย์ จันทนบุบผา หรือนายพลพัน หุ้มแพร นอกจากจะรับบทพระเอกในภาพยนตร์แล้ว ยังเป็นผู้เขียนอักษรประดิษฐ์ในภาพยนตร์อีกด้วย
  • ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) เคยเป็นหัวหน้าช่างถ่ายภาพยนตร์กรมรถไฟหลวงมาก่อน เป็นผู้ถ่ายภาพ ลำดับภาพและกำกับการแสดง โดยมีหลวงสุนทรอัศวราชเป็นผู้แต่งเรื่อง และผู้แสดงล้วนเป็นคณะผู้ร่วมงานและญาติมิตรในบริษัทนั่นเอง
  • ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะประสบความสำเร็จในด้านรายได้พอสมควร แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเหมือนเมื่อครั้งที่ภาพยนตร์ไทยเรื่อง โชคสองชั้น เข้าฉายเท่าใดนัก เพราะแม้แต่หนังสือพิมพ์ข่าว ภาพยนตร์ก็ไม่ได้ติดตามความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้มากนัก
  • จากการให้สัมภาษณ์ของหลวงสุนทรอัศวราช (จำรัส สรวิสูตร) ในปี 2526 เมื่อท่านอายุ 91 ปี ท่านกล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนด้วยทุนของตัวเอง ประมาณ 5-6 พันบาท (เฉพาะค่าฟิล์ม ค่าอาหาร) เก็บเงินฉายได้ 7 พันบาท (ข้อมูลจากนิตยสารหนังไทย ฉบับที่ 4 ปี 2542)
Advertisement